วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลุมเจาะ จ.ระนอง [GROUP 18]

▪ โครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์จำลองเจ้าแม่กวนอิม เกาะสะระณีย์ ต.- อ.เมือง จ.ระนอง (2 หลุม)

การเปรียบเทียบการวิบัติ slope ชั้นดิน กับ slope ชั้นหิน




ความรู้เกี่ยวกับดินถล่ม



ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ

ดิน ถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยปรกติ ดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ “ น้ำ ” จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหล ได้

ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาที่มีความลาดชันสูง อ

ย่างไรก็ตาม ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำก็สามารถเกิดดินถล่มได้ถ้ามีปัจจัยที่ก่อให้เกิด ดินถล่ม โดยทั่วไปบริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม คือ บริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลัง

และมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็น ภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำกัดเซาะเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา บริเวณที่มีการผุพังของหินและทำให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหินบนลาดเขา หนา ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ำซึมลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ำเพิ่ม ขึ้นในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก ( วรวุฒิ, 2548)



การจำแนกชนิดของดินถล่ม



เกณฑ์ในการจำแนกชนิดของดินถล่ม และการพังทลายของลาดเขา มีหลายอย่าง เช่น ความเร็วและกลไกในการเคลื่อนที่ ชนิดของตะกอน รูปร่างของรอยดินถล่ม และปริมาณของน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการดินถล่ม การจำแนกชนิดของดินถล่มที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่การจำแนกโดย Varnes, 1975 ซึ่งอาศัยหลักการจำแนก ชนิดของของวัสดุที่พังทลายลงมา ( Type of material ) และลักษณะการเคลื่อนที่ ( Type of movement )

การลื่นไถล ( Slides) การเกิดดินถล่มชนิดนี้มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ สามารถ จำแนกตามลักษณะของระนาบการเคลื่อนที่ ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

- Rotational slide เป็นการลื่นไถล ของวัตถุลงมาตามระนาบของการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมคล้ายช้อน ( Spoon-shaped ) ทำให้มีการหมุนตัวของวัตถุขณะเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่จะเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ดินมีความเป็นเนื้อเดียวกัน ( Homogeneous material ) เช่น บริเวณที่ชั้นดินหนามาก หรือ ดินที่นำมาถม เป็นต้น

หินที่สนใจ

หินโคลน

หินโคลนที่ก่อตัวที่หาดลีมเรจิส ตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

หินโคลน (Mudstone) เป็นหินตะกอน (Sediment Rock) มีลักษณะ เนื้อละเอียด ประกอบด้วยทรายละเอียดและดินเหนียวปะปนกัน ซึ่งมีการเชื่อมประสานอนุภาคให้จับตัวกันแน่น มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 1/256 มิลลิเมตร หรือ น้อยกว่า 0.063 มิลลิเมตร (mm) หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.0025 นิ้ว (inch)

บริเวณที่พบ

พบเกือบทุกจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย บริเวนที่เป็นแหล่งใหญ่ของหินโคลนก็คือ บริเวณ จังหวัดสระบุรี อยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และยังพบที่ จังหวัดเลย สงขลา ยะลา นครศรีธรรมราช

ประโยชน์

  1. ใช้เป็นหินประดับ
  2. ใช้เป็นวัสดุผสมในอุตสาหกรรมซีเมนต์

Taylor's chart



Taylor's chart

Taylor's stability chart is the main tool used for engineering analysis of simple homogeneous slope stability problems. It is likely that this situation will continue in the future. One of the main deficiencies of Taylor's original presentation is that it does not provide a convenient, general tool for establishing the critical slip circle associated with a given stability problem. Critical circles define the extent of the potentially unstable zone, and this information is quite useful in many practical situations. The present work completes Taylor's classical investigation of stability of homogeneous slopes, and presents the tools necessary in order to establish not only stability numbers (safety factors), but also critical slip circles associated with those numbers. The information defining critical slip circles is presented in a simple chart form which is convenient for practical applications

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทำไมต้องเรียน ธรณีวิทยา

ความเป็นอยู่ที่ดีและความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนเรานั้นขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจและจัดการกับทรัพยากรในพื้นที่ที่เราอยู่ได้ดีแค่ไหน กระบวนการธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการอุโภคบริโภค ทรัพยากรน้ำและความรุนแรงของไฟป่า แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ คลื่นยักษ์ซึนามิ และน้ำท่วมก็สามารถคร่าชีวิตคนจำนวนมากและสร้างความเสียหายมูลค่าหลายล้าน หรือหลายพันล้านบาทได้
ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อเรา กิจกรรมของเราแต่ละคน แต่ละสังคม หรือระดับประเทศ ก็ส่งผลต่อโลกเช่นกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรได้เพิ่มความต้อง การในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเรานำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ในวันนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อโลกในปัจจุบัน แล้วยังส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลังต่อไปได้ในอนาคต เพื่อการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เราต้องดำเนินการโดยตระหนักถึงอนาคตด้วย เริ่มจากการเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ต่างๆ ของโลกให้มากขึ้น
วิชาธรณีช่วยให้เราได้คิดถึงส่วนรวมและท้องถิ่น ด้วยการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่อการดำรง ชีวิตของเราและชุมชน คนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆ ของโลก สามารถให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้เกี่ยวกับสถานที่ปลอดภัยที่จะซื้อหรือ สร้างบ้าน พวกเขาสามารถอภิปรายและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย การวางและพัฒนาผังเมือง ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน รวมถึงการใช้และการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ในสังคมที่ีให้ความสำคัญต่อการศึกษา จะมีการปลูกฝังจิตสำนึกคนในชุมชนถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อโลก ให้การระลึกถึงและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางธรณีในทุกระดับ ตั้งแต่ประถมจนถึงมหาวิทยาลัย เมื่อไหร่ที่เราให้ความสำคัญกับวิชาธรณี เมื่อนั้นทุกคนก็จะได้ประโยชน์ด้วยกัน

หา slope จากแผนที่และหาอัตราส่วนเส้นความชัน

หา slope จากแผนที่และหาอัตราส่วนเส้นความชัน





รู้อะไรในเเผนที่
1. ทำให้รู้ความชัน ความสูงต่ำของพื้นที่
2. ทำให้รู้ขนาดจริงของแต่ละพื้นที่
3. ทำให้แยกได้ว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นภูเขา ที่ราบ หรือแม่น้ำ
4. การดูแผนที่ทำให้ง่ายต่อการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ